灯台下暗し とうだいもとくらし
toudai moto kurashi
อ่าน 6,120 ครั้ง
ใต้ตะเกียงคือความมืด
ตะเกียงแม้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดแสงสว่างก็ตาม แต่บริเวณใต้ตะเกียงจะมืดมิด เนื่องจากแสงไฟส่องไปไม่ถึง
เปรียบเทียบกับการที่คนเรามักไม่รู้จักเรื่องใกล้ตัว
คำพ้อง : 近くて見えぬは睫, 秘事は睫の如し, 遠きを知りて近きを知らず, 傍目八目
สุภาษิตไทย : ใกล้เกลือกินด่าง, เส้นผมบังภูเขา
พบ 15 ความเห็น
ความเห็นที่ 1
สุภาษิตนี้ มักจะเข้าใจผิดว่า 灯台(toudai) หมายถึง ประภาคาร
แต่หากเป็นคำว่าประภาคาร จะต้องใช้คันจิว่า 燈台(toudai)
webmaster
16 พค 52 11:55
ความเห็นที่ 2
แล้วจะรู้ได้ไงคะว่าตัวไหนออกเสียงยังไง น่าจะมีเสียงอ่านด้วยนะคะ
คนช่างสงสัย
17 พค 52 3:07:
ความเห็นที่ 3
เพิ่มเสียงอ่าน ให้แล้วนะครับ
webmaster
17 พค 52 3:55:
ความเห็นที่ 4
ตามมาจาก http://www.nihongothai.com/index.php?topic=50.msg0#new ค่ะ
เวบสวย อ่านง่าย สบายตา แล้วก็เนื้อหาดึจังค่ะ
สงสัย ต้องแวะมาเป็นขาประจำ..^-^
BooJAPAN
19 พค 52 8:46:
ความเห็นที่ 5
ยินดีต้อนรับครับ
เชิญแวะมาบ่อยๆได้เลย แต่ถ้าเจอแต่เว็บมาสเตอร์ ก็อย่าเพิ่งเบื่อละกัน
webmaster
19 พค 52 9:00:
ความเห็นที่ 6
บังเิอิญมาก ผมเพิ่งดุรายการญี่ปุ่น และ เจอคำนี้พอดีเมื่อสักครู่เอง ก็เปิดดิคอยู่ และ นั่งดูงงๆ อยู่ว่า ภาษาไทยสวยๆ จะใช้คำว่าไรดี พอเปิดเว็บมาเจอพอดีเลย หุหุ
Webmaster j-doramanga
22 พค 52 2:15:
ความเห็นที่ 7
คำแปลภาษาไทยในเว็บนี้ ก็คงไม่ใช่ภาษาไทยสวยๆเท่าไร
.. คงต้องใช้เวลาปรับปรุงอีกซักระยะครับ [haha]
webmaster
23 พค 52 4:27:
ความเห็นที่ 8
ก้เหมือน เส้นผมบังภูเขา ใช่ป่ะข๊ะ ??
^^"
เรจ่ะ
5 กย 52 8:09:
ความเห็นที่ 9
เส้นผมบังภูเขา ... ก็น่าจะใช่ครับ [clap]
灯台下暗し มีความหมายเหมือนกับเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวเกินไป จนไม่ค่อยรู้
เช่น คนไทยอาจจะไม่รู้เรื่องบางอย่างของเมืองไทย (เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวจนชะล่าใจ) แต่คนญี่ปุ่นกลับรู้เรื่องนั้นของเมืองไทย เป็นต้น [haha]
webmaster
5 กย 52 10:29
ความเห็นที่ 10
สุภาษิตนี้ถ้ามองดีๆ เป็นปรัชญาที่ลึกมากครับ ถ้าใครต้องการหนักสมองซักเล็กน้อย ตามมาครับ ^^
ถ้าคิดดูดีๆออกมาในแง่ที่ว่า ความมืดกับแสง อาศัยกันและกันอยู่เหมือนกัน ตีออกอย่างนี้ครับ
1.สิ่งที่ล้นใจไฝ่หาทั้งหลายที่เราตั้งขึ้นมา มีอยู่แล้วในสิ่งที่ไม่มี หรือเกิดขึ้นได้ในสิ่งที่ไม่มีนั่นเอง
2.หากหลงคิดว่าแสงที่ว่าสว่างนั้น มันยั่งยืนรุ่งเรือง แต่ท้ายสุดความมืดก็ยังคงมีอยู่ รออยู่ ตั้งอยู่ที่เดิม
ถ้ามองรากฐานในทางปรัชญาของญี่ปุ่น ที่รับพุทธปรัชญานิกายเซ็นมา คงจะเปรียบตะเกียงเหมือนปัญญาที่สว่างขึ้นท่ามกลางความมืดนั่นแหละครับ แท้จริงก็คือสิ่งเดียวกันกับความมืดนั่นเอง คือธรรมชาติอันเดียวกัน จะหาแสงสว่างได้ก็หาในความมืดนั่นเอง เพราะถ้าในแสงสว่าง จะมาหาแสงสว่างไม่เจอครับ[haha]
หากมองจากภาพตัวอย่างของท่าน webmaster นะครับ
เป็นธรรมดาที่เราจะเผลอเทิดทุนแสงสว่างไว้ก่อน คือการแบ่งแยก
ว่าอันไหนเส้นผม อันไหนภูเขา อันไหนเกลือ อันไหนด่าง อันไหนดี อันไหนชั่ว ดำ-ขาว มืด-สว่าง
โดยเราไม่ได้นึกถึงความมืดที่เป็นสิ่งเดียวกันคนละด้าน สุภาษิตนี้แหละครับ ปลุกกระตุ้นให้เราหยุดแบ่งแยกมันซะที [smile]
[groggy]
ludwig
30 มค 54 8:01:
12
pageviews 3,779,749