อ่าน 272,507 ครั้ง
เป็นคำพ่วง (fuzokugo) สามารถผันได้ ใช้ต่อท้ายได้ทั้งคำหลัก (taigen) และคำแสดง (yougen) มีทั้งสิ้น 18 รูปแบบ คือ
れる | られる | せる |
させる | ない | ぬ หรือ ん |
う | よう | まい |
たい | たがる | ます |
た หรือ だ | そうだ | らしい |
ようだ | だ | です |
1. แบ่งตามความหมาย
2. แบ่งตามรูปแบบการผัน
3. แบ่งตามการเชื่อม
1. れる・られる
ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการถูกกระทำ การยกย่อง การเป็นไปได้ หรือการเกิดขึ้นเอง
みんなから笑われる
Minna kara warawareru
ถูกทุกคนหัวเราะ
先生に怒られる
Sensei ni okorareru
ถูกอาจารย์โกรธ
先生が読まれる
Sensei ga yomareru
อาจารย์อ่าน
お客様が来られる
Okyakusama ga korareru
แขกมา
早く行かれる
Hayaku ikareru
ไปได้เร็ว
いつでも見られる
Itsu demo mirareru
ดูได้ตลอดเวลา
昔のことが思い出される
Mukashi no koto ga omoidasareru
คิดถึงเหตุการณ์ในอดีต
病気の彼女が案じられる
Byouki no kanojo ga anjirareru
นึกเป็นห่วงแฟนที่ป่วย
2. せる・させる
ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการสั่งให้ทำ
彼に持たせる
Kare ni motaseru
ใช้ให้เขาถือ
弟に届けさせる
Otouto ni todokesaseru
ใช้ให้น้องชายเอาไปส่ง
3. ない ・ ぬ หรือ ん
ใช้ต่อท้ายคำกริยาหรือคำกริยานุเคราะห์ที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเชิงหักล้าง
そこには行かない
Soko ni wa ikanai
ไม่ไปที่นั่น
彼に持たせない
Kare ni motasenai
ไม่ให้เขาถือ
※ การจำแนกคำคุณศัพท์ ない และคำกริยานุเคราะห์ ない ทำโดยการเปลี่ยน ない เป็น ぬ ถ้าสื่อความหมายไม่ได้ จะเป็นคำคุณศัพท์ แต่หากสื่อความหมายได้ จะเป็นคำกริยานุเคราะห์
คำคุณศัพท์
彼の部屋は汚くない
kare no heya wa kitanakunai
ห้องของเขาไม่สกปรก
คำกริยานุเคราะห์
彼は部屋を汚さない
kare wa heya o yogosanai
เขาไม่ทำให้ห้องสกปรก
4. う・よう
ใช้ต่อท้ายคำแสดง (yougen) และคำกริยานุเคราะห์บางคำ ที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการคาดคะเน การมุ่งมั่น และการชักชวน
友達が多いと楽しかろう
tomodachi ga ooi to tanoshikarou
มีเพื่อนเยอะก็น่าจะสนุก
彼は中学生だろう
kare wa chuugakusei darou
เขาน่าจะเป็นนักเรียนมัธยมต้น
毎日、日本語を勉強しよう
mainichi, nihongo o benkyou shiyou
ตั้งใจจะเรียนภาษาญี่ปุ่นทุกวัน
人から感謝されよう
hito kara kansha sareyou
ตั้งใจจะได้รับการขอบคุณจากผู้คน
(คือตั้งใจจะทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น)
みんなで協力しよう
minna de kyouryoku shiyou
ร่วมมือกันทุกคนเถอะ
みんなに見せよう
minna ni miseyou
ให้ทุกคนดูเถอะ
5. まい
ใช้ต่อท้ายคำแสดง (yougen) และคำกริยานุเคราะห์บางคำ ที่ผันอยู่ในรูป mizenkei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการคาดคะเนเชิงหักล้าง หรือตั้งใจเชิงหักล้าง
彼ならこんなことをしまい
Kare nara konna koto o shimai
ถ้าเป็นเขาคงไม่ทำแบบนี้
彼に読ませまい
Kare ni yomasemai
คงไม่ให้เขาอ่าน
彼と話すまい
Kare to hanasumai
ตั้งใจจะไม่พูดกับเขา
もう失敗は許されまい
Mou shippai wa yurusaremai
การผิดพลาดจะไม่ได้รับการยกโทษให้อีกแล้ว
6. たい・たがる
ใช้ต่อท้ายคำกริยาหรือคำกริยานุเคราะห์ที่ผันอยู่ในรูป renyoukei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการต้องการ
彼と話したい
Kare to hanashitai
อยากพูดกับเขา
彼に聞かせたい
Kare ni kikasetai
อยากให้เขาได้ยิน
彼は外に行きたがる
Kare wa soto ni ikitagaru
เขาท่าจะอยากออกไปข้างนอก
彼は私に言わせたがる
Kare wa watashi ni iwasetagaru
เขาท่าจะอยากให้ฉันพูด
7. ます
ใช้ต่อท้ายคำกริยาและคำกริยานุเคราะห์ที่ผันอยู่ในรูป renyoukei เพื่อให้เกิดความสุภาพ
本を読みます
Hon o yomimasu
อ่านหนังสือ (ประโยคสุภาพ)
漢字を書かせます
Kanji o kakasemasu
ให้เขียนคันจิ (ประโยคสุภาพ)
8. た(だ)
ใช้ต่อท้ายคำแสดง และคำกริยานุเคราะห์ส่วนใหญ่ ที่ผันอยู่ในรูป renyoukei หรือ nai form เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับอดีต การเสร็จสมบูรณ์ การต่อเนื่อง หรือการตรวจทาน
今朝7時に起きた
Kesa shichiji ni okita
เมื่อเช้าตื่น 7 โมง
そこに行きたかった
Soko ni ikitakatta
(เคย) อยากไปที่นั่น
すでに見た
Sude ni mita
ดูเสร็จแล้ว
やっと宿題が終わった
Yatto shukudai ga owatta
ในที่สุดก็ทำการบ้านเสร็จ
ずっと歩きつづけた
Zutto arukitsutzuketa
เดินมาตลอด
ずっと歩きつづけさせられた
Zutto arukitsutzukesaserareta
ถูกทำให้เดินมาตลอด
帰る時間を尋ねた
Kaeru jikan o tazuneta
ถามเวลาที่จะกลับ
明日の準備をさせた
Ashita no junbi o saseta
ให้เตรียมสำหรับวันพรุ่งนี้
9. そうだ
ใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ผันอยู่ในรูป renyoukei หรือต่อท้ายต้นศัพท์ของคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 และ 2 เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการบอกเล่าสภาพ และใช้ต่อท้ายคำแสดง (yougen) ที่ผันอยู่ในรูป shuushikei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการเล่าต่อ
雨が降りそうだ
Ame ga furisouda
ฝนท่าจะตก
彼は優秀そうだ
Kare wa yuushu souda
เขาท่าจะเก่ง
ケーキがおいしそうだ
Keeki ga oishisouda
เค้กท่าจะอร่อย
雨が降るそうだ
Ame ga furu souda
ได้ยินว่าฝนจะตก
彼は優秀だそうだ
Kare wa yuushu souda
ว่ากันว่าเขาเก่ง
ここのケーキがおいしいそうだ
Koko no keeki ga oishii souda
พูดกันว่าเค้กที่นี่อร่อย
10. らしい
ใช้ต่อท้ายคำหลัก คำกริยา คำคุณศัพท์กลุ่มที่ 1 และคำกริยานุเคราะห์ ที่ผันในรูป shuushikei หรือใช้ต่อท้ายต้นศัพท์ (gokan) ของคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 หรือใช้ต่อท้ายคำช่วย เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการสันนิษฐาน
彼らは大学生らしい
Karera wa daigakusei rashii
พวกเขาน่าจะเป็นนักศึกษา
彼の家は遠いらしい
Kare no ie wa tooi rashii
บ้านของเขาน่าจะอยู่ไกล
試験は来月に行われるらしい
Shiken wa raigetsu ni okonawareru rashii
การสอบน่าจะมีขึ้นในเดือนหน้า
彼らが行くらしい
Karera ga iku rashii
พวกเขาน่าจะไป
彼がまじめらしい
Kare ga majime rashii
เขาน่าจะขยัน
最初はここかららしい
Saisho wa koko kara rashii
ตอนแรกน่าจะเริ่มจากที่นี่
11. ようだ
ใช้ต่อท้ายคำช่วยคำหลัก (kakujoshi) คือ の หรือใช้ต่อท้ายคำแสดง (yougen) หรือคำกริยานุเคราะห์บางส่วน ที่ผันอยู่ในรูป rentaikei เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ การยกตัวอย่าง หรือการสันนิษฐาน
彼女はまるで花のようだ
Kanojo wa marude hana no you da
เธอเปรียบประดุจดอกไม้
田中さんのような先生になりたい
Tanakasan no you na sensei ni naritai
อยากจะเป็นอาจารย์เหมือนกับคุณทานากะ
ここに誰か来たようだ
Koko ni dare ka kita you da
ดูเหมือนว่ามีใครบางคนมาที่นี่
12. だ
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (taigen) หรือคำช่วยบางคำ เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการแสดงความมั่นใจ
君は大学生だ
Kimi wa daigakusei da
เธอเป็นนักศึกษา
この選択が一番正しいのだ
Kono sentaku ga ichiban tadashii no da
การเลือกนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุด
※ だ มีลักษณะการใช้งานในหลายรูปแบบ ดังนี้
これは私の本だ
Kore wa watashi no hon da
นี่คือหนังสือของฉัน
⇒ เป็นคำกริยานุเคราะห์แสดงความมั่นใจ
この本はきれいだ
Kono hon wa kirei da
หนังสือเล่มนี้สวย
⇒ เป็นการผันคำคุณศัพท์กลุ่มที่ 2 ในรูปจบประโยค (shuushikei)
この本は読んだ
Kono hon wa yonda
หนังสือเล่มนี้อ่านแล้ว
⇒ เป็นคำกริยานุเคราะห์แสดงอดีต・การจบสมบูรณ์・การต่อเนื่อง・การตรวจทาน
13. です
ใช้ต่อท้ายคำหลัก (taigen) หรือคำช่วยบางคำ เพื่อให้เกิดความหมายเกี่ยวกับการแสดงความมั่นใจอย่างสุภาพ
君は大学生です
Kimi wa daigakusei desu
เธอเป็นนักศึกษาครับ/ค่ะ
この選択が一番正しいのです
Kono sentaku ga ichiban tadashii no desu
การเลือกนี้เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดครับ/ค่ะ
pageviews 2,695,304