ไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่น เรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง

อ่าน 284,750 ครั้ง

คำยกย่อง (敬語 : keigo)

เป็นการแสดงความให้เกียรติผู้ฟัง ผู้อ่าน หรือผู้ที่ถูกกล่าวถึง แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. คำสุภาพ (丁寧語 : teineigo)

เป็นคำที่ผู้พูดหรือผู้เขียนใช้เพื่อให้เกียรติผู้ฟังหรือผู้อ่าน โดยการใช้คำว่า お、 ご、 です、 ます、 ございます、 おります เช่น

その商品はこちらにございます
Sono shouhin wa kochira ni gozaimasu
สินค้านั้นอยู่ทางด้านนี้ครับ/ค่ะ

いま作っておりますので、しばらくお待ちください
Ima tsukutte orimasu node, shibaraku omachi kudasai
กำลังทำอยู่ กรุณารอสักครู่ครับ/ค่ะ

飯を食べます
Gohan o tabemasu
ทานข้าวครับ/ค่ะ

弁当を持ってきました
Obentou o motte kimashita
นำข้าวกล่องมาครับ/ค่ะ

今日はいい天気です
Kyou wa ii tenki desu
วันนี้อากาศดีครับ/ค่ะ

今日も勉強します
Kyou mo benkyou shimasu
วันนี้ก็เรียนครับ/ค่ะ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการใช้คำสุภาพ

i. วิธีการใช้ お และ ご

ii. คำศัพท์ที่จะไม่เติม お เพื่อเปลี่ยนเป็นคำสุภาพ ได้แก่คำในกลุ่มดังนี้

iii. คำสุภาพที่ขึ้นต้นด้วย お (หรือ ご) ซึ่งไม่สามารถตัดคำว่า お (หรือ ご) ทิ้งไปได้ เนื่องจากจะทำให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไป เช่น

iv. คำที่ผู้หญิงควรใช้ お ในทุกๆกรณีเพื่อแสดงความมีมารยาท

2. คำยกย่อง (尊敬語 : sonkeigo)

เป็นคำที่ผู้พูดหรือผู้เขียนใช้ยกย่องฝ่ายตรงข้าม หรือบุุคคลที่กำลังกล่าวถึง โดยการใช้คำว่า ~れる、 ~られる、 ~いらっしゃる、 ~おっしゃる、 お…なる、ご…なる、 お…なさる、お…なさる

ทั้งนี้ คำว่า 先生 (sensei)、 君 (kun)、 ~さん (san)、 ~様 (sama)、 貴~ (ki)、 令息(reisoku)、 令嬢 (reijou)、 どなた (donata) ก็จัดเป็นคำยกย่องด้วย

先生が書かれる
Sensei ga kakareru
อาจารย์เขียน

市長が来られる
Shichou ga korareru
นายกเทศมนตรีมา

お客は明日いらっしゃる
Okyakusama wa asu irassharu
แขกจะมาพรุ่งนี้

校長先生のおっしゃる話に感心する
Kouchou sensei no ossharu hanishi ni kanshin suru
ประทับใจกับเรื่องที่อาจารย์ใหญ่พูด

タイ料理をお召し上がりになる
Tai ryouri o O meishi agari ni naru
ทานอาหารไทย

テレビをご覧になります
Terebi o Go ran ni narimasu ka
ดูโทรทัศน์ไหมครับ/ค่ะ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับคำยกย่อง

คำสุภาพแบ่งออกคร่าวๆ ได้เป็น 4 กลุ่มคือ

i. เปลี่ยนจากคำสามัญ เป็นคำพิเศษ เช่น

ii. เปลี่ยนคำกริยาให้อยู่ในรูป ~れる หรือ ~られる เช่น

iii. เปลี่ยนคำกริยาให้อยู่ในรูป お…なる หรืออื่นๆ เช่น

iv. เติม お หรือ ご สำหรับคำนามบางคำ เช่น

3.คำถ่อมตน (謙譲語 : kenjougo)

เป็นคำที่ผู้พูดหรือผู้เขียนใช้ลดตนเองหรือบุคคลในฝ่ายตนเองให้ต่ำลง เพื่อเป็นการยกย่องฝ่ายตรงข้าม โดยการใช้คำว่า 小 (shou)、 愚 (gu)、 拙 (setsu)、 粗 (so) นำหน้า หรือใช้ ども、 め ต่อท้าย หรือใช้คำว่า 申す (mousu)、 いただく、 まいる、 お(ご)~する、 お(ご)~いたす

ทั้งนี้คำว่า わたくし (watakushi)、 家内 (kanai)、 せがれ (segare) ก็จัดเป็นคำถ่อมตนด้วย

拙宅にもお寄りください
Sekka ni mo oyori kudasai
เชิญแวะมาที่บ้านของผมด้วยครับ

粗品を受け取りください
Soshina o uketori kudasai
เชิญรับของของขวัญ/ของชำร่วย ครับ/ค่ะ

わたくしめでは荷が重過ぎます
Watakushime dewa ni ga omosugimasu
เป็นเรื่องหนัก(ยาก)เกินไปสำหรับผม

私はソムチャイと申します
Watashi wa Somuchai to moushimasu
ผมชื่อสมชายครับ

私どもで負担させていただきます
Watashidomo de futansasete itadakimasu
พวกผมจะเป็นคนจ่ายครับ

午後から参ります
Gogo kara mairimasu
จะไปตอนบ่ายครับ/ค่ะ

早くお届けするように言われております
Hayaku otodoke suru you ni iwarete orimasu
ได้รับแจ้งให้นำไปส่งโดยเร็วครับ/ค่ะ

お客様をご案内します
ogyakusama o goannai shimasu
จะพาแขกไปชมครับ/ค่ะ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับคำถ่อมตน

คำถ่อมตนแบ่งออกคร่าวๆ ได้เป็น 3 กลุ่มคือ

  1. เปลี่ยนจากคำสามัญ เป็นคำพิเศษ เช่น
    • ฉัน (私 : watashi) เปลี่ยนเป็น 私 (watakushi) หรือ 手前共 (temae domo)
    • บริษัท (会社 : kaisha) เปลี่ยนเป็น 弊社 (heisha)
    • ไป (行く : iku) เปลี่ยนเป็น 参る (mairu)
    • ทาน (食べる : taberu) เปลี่ยนเป็น いただく (itadaku)

  2. เปลี่ยนคำกริยาให้อยู่ในรูป …あげる หรือ …させていただく เช่น
    • พูด (言う : iu) เปลี่ยนเป็น 申し上げる (moushi ageru)
    • คิด (思う : omou) เปลี่ยนเป็น 存じ上げる (zonji ageru)
    • ทำ (する : suru) เปลี่ยนเป็น させていただく (sasete itadaku)
    • ทาน (食べる : taberu) เปลี่ยนเป็น 食べさせていただく (tabesasete itadaku)

  3. เปลี่ยนคำกริยาให้อยู่ในรูป お…する หรืออื่นๆ เช่น
    • พบ (会う : au) เปลี่ยนเป็น お会いする (o ai suru) หรือ お目にかかる (o me ni kakaru)
    • มา (来る : kuru) เปลี่ยนเป็น お伺いする (o ukagai suru)
    • สอน (教える : oshieru) เปลี่ยนเป็น ご案内する (go annai suru)

ข้อควรระวังในการใช้คำยกย่องและคำถ่อมตน

คำยกย่องและคำถ่อมตนที่ใช้บ่อย

คำนาม

ความหมาย คำปกติ คำยกย่อง คำถ่อมตน
บริษัท 会社 (kaisha) 貴社 (kisha)
御社 (onsha)
弊社 (heisha)
当社 (tousha)
小社 (shousha)
ธนาคาร 銀行 (ginkou) 貴行 (kikou) 当行 (toukou)
ร้านค้า 店 (mise) 貴店 (kiten) 当店 (touten)
บ้าน 家 (ie) ご尊宅 (go sontaku)
ご尊家 (go sonke)
貴家 (kika)
拙宅 (settaku)
拙家 (sekka)
当家 (touke)
สามี 夫 (otto) ご主人 (go shujin)
旦那様 (danna sama)
夫 (otto)
主人 (shujin)
ภรรยา 妻 (tsuma) 奥様 (okusama)
奥方 (okugata)
令夫人様 (reifujin sama)
妻 (tsuma)
家内 (kanai)
女房 (nyoubou)
愚妻 (gusai)
พ่อแม่ 両親 (ryoushin) ご両親様 (go ryoushin sama)
お二方様 (o futakata sama)
両親 (ryoushin)
父母 (fubo)

คำกริยา

ความหมาย คำปกติ คำยกย่อง คำถ่อมตน
พบ 会う (au) お会いになる (o ai ni naru)
会われる (awareru)
お会いする (o ai suru)
お目にかかる (o me ni kakaru)
ให้ 与える (ataeru) お与えになる (o atae ni naru)
くださる (kudasaru)
賜る (tamawaru)
差し上げる (sashi ageru)
พูด 言う (iu) おっしゃる (ossharu)
言われる (iwareru)
申す (mousu)
申し上げる (moushi ageru)
ไป 行く (iku) いらっしゃる (irassharu)
おいでになる (oide ni naru)
行かれる (ikareru)
伺う (ukagau)
参る (mairu)
参上する (sanjou suru)
อยู่ いる (iru) いらっしゃる (irassharu)
おられる (orareru)
おいでになる (oide ni naru)
おります (orimasu)
คิด 思う (omou) お思いになる (o omoi ni naru)
お考えになる (o kangae ni naru)
存じる (zonjiru)
存じ上げる (zonji ageru)
ฟัง 聞く (kiku) お聞きになる (o kiki ni naru)
聞かれる (kikareru)
ご清聴 (go seichou)
伺う (ukagau)
承る (ukatamawaru)
拝聴する (haichou suru)
สวมใส่ 着る (kiru) 着られる (kirareru)
お召しになる (o meshi ni naru)
ご着用 (go chakuyou)
身に着ける (mi ni tsukeru)
着させていただく (kisasete itadaku)
มา 来る (kuru) おいでになる (oide ni naru)
いらっしゃる (irassharu)
お越しになる (o koshi ni naru)
伺う (ukagau)
参る (mairu)
参上する (sanjou suru)
ทราบ 知る (shiru) ご存知でいらっしゃる (go zonji de irassharu)
お知りになる (o shiri ni naru)
存じる (zonjiru)
ทำ する (suru) される (sareru)
なさる (nasaru)
あそばす (asobasu)
いたす (itasu)
させていただく (sasete itadaku)
ไปเยี่ยม 尋ねる (tazuneru) お尋ねになる (o tazune ni naru) 伺う (ukagau)
お尋ねする (o tazune suru)
ทาน 食べる (taberu) お食べになる (o tabe ni naru)
召し上がる (meshi agaru)
いただく (itadaku)
頂戴する (choudai suru)
ดื่ม 飲む (nomu) お飲みになる (o nomi ni naru)
召し上がる (meshi agaru)
いただく (itadaku)
頂戴する (choudai suru)
มอง 見る (miru) ご覧になる (go ran ni naru)
見られる (mirareru)
拝見する (haiken suru)
見せていただく (misete itadaku)
รับ もらう (morau) お納めになる (o osame ni naru)
お受け取りになる (o uketori ni naru)
いただく (itadaku)
頂戴する (choudai suru)
พักผ่อน 休む (yasumu) お休みになる (o yasumi ni naru)
休まれる (yasumareru)
お休みさせていただく (o yasumi sasete itadaku)
ให้ やる (yaru) くださる (kudasaru) 差し上げる (sashi ageru)
อ่าน 読む (yomu) お読みになる (o yomi ni naru)
読まれる (yomareru)
読ませていただく (yomasete itadaku)
拝読する (haidoku suru)
เข้าใจ 分かる (wakaru) お分かりになる (o wakari ni naru)
ご理解 (go rikai)
ご承知 (go shouchi)
ご了承 (go ryoushou)
ご了解 (go ryoukai)
お察しする (o sasshi suru)
承る (uketamawaru)
かしこまる (kashikomaru)
承知する (shouchi suru)

pageviews 2,663,341