ห้องเรียนภาษาญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่นไม่ยากอย่างที่คิด

อ่าน 160,619 ครั้ง

に เป็นคำช่วยที่มีลักษณะการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น ใช้ชี้สถานที่ เวลา หรือบุคคล

ประธาน +が +สถานที่
เวลา
บุคคล
+に +กริยา +ます

  1. お父さん が 会社 行きます
    Otousan ga kaisha ni ikimasu
    คุณพ่อไปบริษัทครับ/ค่ะ
  2. おじいさん が 電車 乗ります
    Ojiisan ga densha ni norimasu
    คุณปู่ขึ้นรถไฟครับ/ค่ะ
  3. お客さん が 家 来ます
    Okyakusan ga ie ni kimasu
    แขกมาที่บ้านครับ/ค่ะ
  4. 先生 が 部屋 戻ります
    Sensei ga heya ni modorimasu
    อาจารย์กลับห้องครับ/ค่ะ

  1. ノート が 机 の 上 あります
    Nooto ga tsukue no ue ni arimasu
    สมุดอยู่บนโต๊ะครับ/ค่ะ
  2. 先生 が 本 を 机 の 上 置きます
    Sensei ga hon o tsukue no ue ni okimasu
    อาจารย์วางหนังสือบนโต๊ะครับ/ค่ะ
  3. お父さん が 会社 居ます
    Otousan ga kaisha ni imasu
    คุณพ่ออยู่ที่บริษัทครับ/ค่ะ
  4. おばあさん が 台所 居ます
    Obaasan ga daidokoro ni imasu
    คุณยายอยู่ในครัวครับ/ค่ะ

  1. お母さん が 毎日 6時 起きます
    Okaasan ga mainichi rokuji ni okimasu
    คุณแม่ตื่นเวลา 6 โมงเช้าทุกวันครับ/ค่ะ
  2. お父さん が 7時 出かけます
    Otousan ga shichiji ni dekakemasu
    คุณพ่อออกจากบ้านตอน 7 โมงเช้าครับ/ค่ะ
  3. お兄さん が 9時 帰ります
    Oniisan ga kuji ni kaerimasu
    พี่ชายกลับมาตอน 3 ทุ่มครับ/ค่ะ
  4. 弟 が 10時 寝ます
    Otouto ga juuji ni nemasu
    น้องชายนอนตอน 4 ทุ่มครับ/ค่ะ

  1. 先生 質問 を します
    Sensei ni shitsumon o shimasu
    ถามคำถามอาจารย์ครับ/ค่ะ
  2. お母さん お小遣い を もらいます
    Okaasan ni okotzukai o moraimasu
    ได้เงินค่าขนมจากคุณแม่ครับ/ค่ะ
  3. 友達 電話番号 を 教えます
    Tomodachi ni denwa bangou o oshiemasu
    บอกเบอร์โทรศัพท์แก่เพื่อนครับ/ค่ะ
  4. 弟 が 犬 えさ を あげます
    Otouto ga inu ni esa o agemasu
    น้องชายให้อาหารสุนัขครับ/ค่ะ

คำอธิบาย

พบ 60 ความเห็นในบทเรียนนี้

ความเห็นที่ 41
お守りにしよう คำนี้มันเเปลว่าอะไรหรอครับ お守り(Omamori)มันเเปลว่าเครื่องราง เเล้วしようมันเเปลว่าอะไร

ขอบคุณครับ
Patriot_G 18 กพ 57 22:51

ความเห็นที่ 42
お守り เครื่องราง
しよう มาจากคำกริยา する ผันในฟอร์มมุ่งมั่น/ชักชวน (-you form / -u form)

ถ้ามีประโยคเพียงเท่านี้ ก็คงเดาว่า ผู้พูดกำลังตัดสินใจว่าจะเลือก (หรือจะซื้อ) อะไรดี
แล้วก็ตัดสินใจว่า "จะเอาเครื่องรางล่ะ" (มุ่งมั่น) หรือ "เอาเครื่องรางเถอะ" (ชักชวน)

ยกตัวอย่างประโยคอื่น เช่น
どれにしますか จะเอาอันไหนครับ
これにします เอานั้นนี้ครับ
webmaster 18 กพ 57 23:31

ความเห็นที่ 43
ไม่น่าใช่การผันจากするรึเปล่า น่าจะมาจากคำว่า使用(การใช้)คนพิมพ์ไม่ได้ใช้ตัวคันจิ
ประโยคประมาณว่า とってもとっても可愛いバッグ蜷川実花しゃんからもらったよ♡˃̶̨̡˙ˣੰ͚˙͚ٛ˂̶̧̢༿お守りにしよう♡
ฉันได้รับกระเป๋าน่ารักมากๆจากนินาคาวะ มิกะจังจะใช้มันเป็นเครื่องราง(สิ่งนำโชค)

เเปลเเบบนี้รึเปล่าครับหรือผมเเปลผิด ต้องดูบริบทบางทีคนญี่ปุ่นบางคำก็ไม่ใช้คันจิ คงต้องดูบริบทพิจราณาเอาใช่มั้ยครับ

ขอบคุณครับ
Patriot_G 19 กพ 57 10:03

ความเห็นที่ 44
เป็นการผันจาก する ครับ
ตามประโยคเต็มที่เขียนมานั้น お守りにしよう แปลว่า "จะนำไปเป็นเครื่องราง (มุ่งมั่น)" ครับ
webmaster 20 กพ 57 22:08

ความเห็นที่ 45
อ่อครับ ผมยังเรียนไม่ถึงผันรูป する

เพราะผมเห็นคนญี่ปุ่นชอบใช้คำนี่ "นำไปเป็นเครื่องราง"
เช่น วันนี่ชื้ออันนี่มาเเต่ยังกินไม่ได้วันนี้"จะนำไปเป็นเครื่องราง"
Patriot_G 21 กพ 57 04:07

ความเห็นที่ 46
ไม่เข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อหรือสอบถามครับ
ทำไมถึงบอกว่า คนญี่ปุ่นชอบพูดคำว่า "นำไปเป็นเครื่องราง"
โดยเฉพาะเรื่องของกิน ผมไม่เคยได้ยินใครพูดว่า "ยังไม่กินวันนี้ จะนำไปเป็นเครื่องราง" ครับ
webmaster 25 กพ 57 22:53

ความเห็นที่ 47
เรื่องคำช่วยเนี่ย ยากจริงๆค่ะ
เราเรียนญี่ปุ่นด้วยตัวเอง อ่านหนังสือมินนะเป็นหลัก พออ่านไปได้สักพักแล้ว รู้สึกว่าไม่ค่อยเข้าใจหลักการใช้คำช่วยเลย รู้สึกว่าต้องใช้วิธีจำแทนที่จะใช้ความเข้าใจ เลยหยุดการอ่าน มาหาความรู้ข้างนอกเอา ขอถามความสงสัยหน่อยนะคะ ไม่ค่อยเข้าใจความแตกต่างด้านการใช้คำช่วยเท่าไหร่

เรื่อง คำช่วย de กับ ni สำหรับสถานที่เนี่ย สรุปว่าใช้ต่างกันตรงกริยาใช่มั้ยคะ
ถ้ากริยามีการเคลื่อนไหว จะใช้ สถานที่ de
ถ้ากริยาไม่เคลื่อนไหว จะใช้ สถานที่ ni
เราเข้าใจถูกมั้ยคะ

แล้วคำช่วย ni กับ e เกี่ยวกับสถานที่เนี่ย มันต่างกันยังไงคะ
ตอนเราอ่านหนังสือมินนะ หัวข้อกริยา ikimasu kimasu kaerimasu
หนังสือให้รูปประโยคมาว่า
สถานที่ e จุดประสงค์ ni กริยา (ikimasu kimasu kaerimasu)
แต่เราอ่านหนังสืออีกเล่มนึง เค้าให้รูปประโยคมาว่า
สถานที่ ni กริยา (ikimasu kimasu kaerimasu)
แล้วในเว็บไซต์นี้ก็ใช้รูปประโยคแบบที่สอง
เราเลยสงสัยว่า การใช้ทั้งสองแบบมีความเหมือน หรือแตกต่างกันยังไงคะ
ตกลงแล้ว กริยาไป มา กลับ มันต้องใช้ สถานที่ ni หรือ สถานที่ e กันแน่

สงสัยอีกข้อนึงค่ะ คำช่วยเกี่ยวกับบุคคล ที่เป็นคู่กรณี หรือเป็นกรรมเนี่ย
เห็นทั้งหัวข้อที่แล้ว และหัวข้อนี้เลยว่า มีการใช้ทั้ง บุคคล o และ บุคคล ni
สองกรณีนี้ต่างกันยังไงคะ มีข้อสังเกตรึเปล่า หรือว่าต้องจำการใช้กับกริยาเป็นกรณีๆไป ถ้ามีหลักการ ก็อยากจะเข้าใจหลักการน่ะค่ะ รู้สึกว่าภาษาญี่ปุ่นมีเรื่องให้จำเยอะ ไม่อยากสร้างภาระการจำให้ตัวเองมากกว่านี้ (ฮา)
ขอบคุณแอดมินมากนะคะ

อิ๋ว 21 กค 57 10:12

ความเห็นที่ 48
คำถามหลายข้อมากเลยครับ อยากจะตอบให้ทั้งหมด แต่กลัวว่าต้องเขียนยาวมาก และอาจทำให้สับสน

กรณีต้องการศึกษาคำช่วยโดยละเอียด ขอแนะนำให้อ่านข้อมูลในหัวข้อ "คำช่วย" ประกอบด้วย เพราะตรงนั้นเขียนคำอธิบายและตัวอย่างไว้ละเอียดกว่าในบทเรียนนี้ครับ

ni
http://j-campus.com/particle/view.php?search=ni

de
http://j-campus.com/particle/view.php?search=de

to
http://j-campus.com/particle/view.php?search=to

----------------------------

ขอตอบเฉพาะบางข้อ เพื่อเป็นไอเดียนะครับ
ถาม:
de ใช้กับคำกริยาที่เป็นการเคลื่อนไหว
ni ใช้กับคำกริยาที่ไม่เคลื่อนไหว

ตอบ:
กรณีใช้ de หรือ ni เพื่อแสดงสถานที่ที่เกิดการกระทำ ความเข้าใจนี้ถูกต้อง
แต่ ni สามารถใช้แสดงสถานที่ซึ่งเป็นจุดหมายปลายทาง โดยใช้กับคำกริยาที่เป็นการเคลื่อนไหว เช่น
umi ni ikimasu ไปทะเล
ดังนั้น จึงจะสรุปสั้นๆ ตามที่สอบถามมานั้น ไม่ได้ ไม่ถูกต้อง

ลองอ่านเรื่องคำช่วย ตาม link ข้างต้นดูก่อนนะ น่าจะช่วยให้เข้าใจได้เพิ่มขึ้นครับ
webmaster 23 กค 57 20:50

ความเห็นที่ 49
ค่า ขอบคุณมากนะคะ ต้องขอตัวไปศึกษาก่อน ถ้ามีคำถามจะมาถามใหม่ (ฮา)

ขอคำแนะนำนิดนึงค่ะ เราเพิ่งไปสอบ N5 มา คิดว่าน่าจะผ่าน
แต่ยังฟังซีรีย์หรืออนิเมะไม่ค่อยออกเลยค่ะ มันแปลกมากมั้ยคะ
แล้วมีเทคนิคอะไรมั้ยคะ ที่ทำให้ฟังภาษาญี่ปุ่นออกมากขึ้น
รู้สึกเหมือนกับว่า ศัพท์ที่เราเรียนในหนังสือ กับศัพท์ที่ตัวละครพูดกันมันคนละศัพท์กัน
แบบว่า กริยาที่ตัวละครพูด เค้าไม่ค่อยใช้รูปสุภาพอะค่ะ ใช้รูปกันเองมากกว่า
แล้วเราฟังไม่ค่อยออก เพราะจะชินกับรูปสุภาพมากกว่า แบบนี้แก้ยังไงดีคะ
อิ๋ว 24 กค 57 07:28

ความเห็นที่ 50
การเรียนไวยากรณ์จากตำรา ปกติจะสอนให้ใช้คำช่วย และสอนการผันคำกริยาในรูปสุภาพ
แต่ในชีวิตจริง ส่วนใหญ่จะพูดโดยละคำช่วย และไม่ใช้รูปสุภาพ กรณีที่พูดกับครอบครัว เพื่อนฝูง หรือคนที่เป็นกันเอง
ดังนั้น ตอนที่เริ่มเรียนปีแรกๆ อาจจะรู้สึกแปลกๆ ที่เรียนไปแล้ว ไม่ตรงกับที่ได้ยินได้ฟัง

คำแนะนำคือ ขอให้คิดว่ามันเป็นคนละเรื่องกัน
การเรียนในตำรา เพื่อให้รู้หลักไวยากรณ์ เพื่อเป็นฐานในการเขียนอ่านภาษาในระดับที่สูงยิ่งๆ ขึ้น
ส่วนการอ่านมังงะ หรือดูอนิเมะ เป็นการฝึกให้คุ้นกับภาษาพูดที่ใช้ในชีวิตจริง

ทั้ง 2 อย่าง มีความสำคัญทั้งคู่ ไม่ควรทิ้งเรื่องหนึ่งเรื่องใดไป
อดทนไปอีกระยะหนึ่ง อาจจะราวๆปีนึง ก็น่าจะพ้นจุดที่สับสนนั้นครับ
webmaster 24 กค 57 20:07

1<6

pageviews 8,185,502