อ่าน 167,540 ครั้ง
ฮิรางานะเป็นตัวอักษรสำหรับแสดงภาษาญี่ปุ่น ประกอบด้วยอักษรทั้งสิ้น 46 ตัว โดยแต่ละตัวจะมีเสียงเฉพาะตัวนั้นๆ เมื่อนำฮิรางานะมาเรียงต่อกันเป็นคำ ก็จะออกเสียงตามตัวอักษรนั้นๆ เช่น
に(ni) + ほ(ho) + ん(n) -- > にほん(nihon)
ซึ่งแตกต่างกับอักษรภาษาไทย (ก ข ค ..) หรืออังกฤษ (a b c ..) ซึ่งมีพยัญชนะและสระ และหากนำมาเรียงต่อกัน ก็จะได้เป็นคำซึ่งออกเสียงตามวิธีผสมอักษร
ฮิรางานะมีจำนวนไม่แตกต่างจากอักขระในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมากนัก จึงใช้เวลาในการศึกษาจดจำไม่นาน แต่เนื่องจากเป็นอักษรที่ไม่คุ้นเคย ดังนั้น ในตำราเรียนภาษาญี่ปุ่นสำหรับชาวต่างชาติเกือบทั้งหมด จึงเริ่มสอนโดยการแทนฮิรางานะด้วยตัวอักษรด้วยภาษาอังกฤษ (โรมาจิ) หลังจากนั้น จึงจะเริ่มจำฮิรางานะ คาตาคานะ และคันจิ ตามลำดับ
ฮิรางานะมีเสียงสระ 5 เสียง คือ
あ A (อะ) | い I (อิ) | う U (อุ) | え E (เอะ) | お O (โอะ) |
และประกอบด้วยแถวที่เป็นต้นเสียง 10 แถว คือ
あ = A | か = K | さ = S | た = T | な = N |
は = H | ま = M | や = Y | ら = R | わ = W |
และตัวสะกด 1 ตัว คือ ん = n
เมื่อนำแถวที่เป็นต้นเสียง (10 แถว) มารวมกับเสียงสระ (5 เสียง) ฮิรางานะจึงควรจะมีทั้งสิ้น 50 ตัว
แต่ฮิรางานะบางตัว มีการออกเสียงเปลี่ยนไปตามกาลเวลา จนไปคล้ายกับเสียงของฮิรางานะตัวอื่น ทำให้ไม่สามารถแยกแยะได้
ในสมัยเอโดะจึงได้มีการยกเลิกฮิรางานะบางตัวที่ออกเสียงซ้ำกับตัวอื่นทิ้งไป ทำให้ปัจจุบัน ฮิรางานะในแถว や (Y) จึงมีเพียง 3 ตัว และแถว わ (W) มีเพียง 2 ตัว รวม 45 ตัว และรวมกับตัวสะกด ん (n) เป็น 46 ตัว
ดูวิธีอ่านออกเสียงฮิรางานะเป็นภาษาไทย ในบทที่ 6
เสียง อะ | เสียง อิ | เสียง อุ | เสียง เอะ | เสียง โอะ | |
---|---|---|---|---|---|
แถว あ | あ | い | う | え | お |
a | i | u | e | o | |
แถว か | か | き | く | け | こ |
ka | ki | ku | ke | ko | |
แถว さ | さ | し | す | せ | そ |
sa | shi | su | se | so | |
แถว た | た | ち | つ | て | と |
ta | chi | tsu | te | to | |
แถว な | な | に | ぬ | ね | の |
na | ni | nu | ne | no | |
แถว は | は | ひ | ふ | へ | ほ |
ha | hi | fu | he | ho | |
แถว ま | ま | み | む | め | も |
ma | mi | mu | me | mo | |
แถว や | や | ゆ | よ | ||
ya | yu | yo | |||
แถว ら | ら | り | る | れ | ろ |
ra | ri | ru | re | ro | |
แถว わ | わ | を | |||
wa | o | ||||
ん | |||||
n |
ตามความรู้สึกของคนไทย เสียงของแถว や (Y) จะออกเป็นเสียง "ย.ยักษ์" จึงไม่มีปัญหาในการออกเสียง ย ให้ครบทั้ง 5 เสียงสระ คือ ยะ ยิ ยุ เยะ โยะ
แต่ในความรู้สึกของคนญี่ปุ่น แถว や (Y) จะเริ่มการออกเสียงคล้ายกับเสียง อิ เมื่อจะออกเสียงให้ครบทั้ง 5 เสียงสระ จะเป็น (1) อิอะ = ยะ (2) อิอิ = อิ (3) อิอุ = ยุ (4) อิเอะ = เอะ (5) อิโอะ = โยะ
แถว や เสียงที่ 2 จึงเหมือนกับเสียงของฮิรางานะ い และแถว や เสียงที่ 4 จึงเหมือนกับเสียงของฮิรางานะ え ทำให้ฮิรางานะในแถว や ตัวที่ 2 และ 4 ถูกยกเลิกไป
ส่วนแถว わ เดิมทีน่าจะเริ่มออกเสียงคล้ายกับเสียง อุ ซึ่งเมื่อจะออกเสียงให้ครบทั้ง 5 เสียงสระ จะเป็น (1)อุอะ = วะ (2) อุอิ = อิ (3) อุอุ = อุ (4) อุเอะ = เอะ (5) อุโอะ = โอะ
แถว わ เสียงที่ 2, 3, 4, 5 จึงออกเสียงเหมือนกับฮิรางานะ い う え お และถูกยกเลิกไป
ยกเว้น を ที่แม้จะออกเสียงเหมือนกับ お แต่ด้วยเหตุผลทางภาษาศาสตร์ จึงยังรักษาอักษร を ซึ่งเป็นคำช่วย ไว้ตามเดิม
เป็นการเปลี่ยนเสียงโดยการเติมสัญญลักษณ์ ゛ เรียกว่า 濁点 (dakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการตามรูปทรงของสัญญลักษณ์ว่า tenten หรือ chonchon ตามหลังอักษรในแถว 「か」 「さ」 「た」 「は」
หรือโดยวิธีเติมสัญญักษณ์ ゜ เรียกว่า 半濁点 (handakuten) หรือเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า maru ตามหลังอักษรในแถว 「は」 เพื่อให้เกิดเสียงที่เปลี่ยนไปจากเดิม
ดูวิธีอ่านออกเสียงขุ่น/กึ่งขุ่นเป็นภาษาไทย ในบทที่ 6
เสียง อะ | เสียง อิ | เสียง อุ | เสียง เอะ | เสียง โอะ | |
---|---|---|---|---|---|
แถว か | が | ぎ | ぐ | げ | ご |
ga | gi | gu | ge | go | |
แถว さ | ざ | じ | ず | ぜ | ぞ |
za | ji | zu | ze | zo | |
แถว た | だ | ぢ | づ | で | ど |
da | ji | tzu | de | do | |
แถว は | ば | び | ぶ | べ | ぼ |
ba | bi | bu | be | bo | |
แถว は | ぱ | ぴ | ぷ | ぺ | ぽ |
pa | pi | pu | pe | po |
คือการนำอักษรที่ออกเสียง 'i' เช่น き, し, ち, ..... มาผสมกับอักษรในแถว ya คือ や, ゆ, よ ที่แปลงรูปอักษรให้ตัวเล็กลงเป็น ゃ, ゅ, ょ เพื่อให้เกิดการออกเสียงควบกล้ำกันระหว่างสระ 2 ชนิด (เช่น i+a, i+u, i+o)
ดูวิธีอ่านออกเสียงควบเป็นภาษาไทย ในบทที่ 6
や | ゆ | よ | |||
---|---|---|---|---|---|
き  | きゃ | きゅ | きょ | ||
kya | kyu | kyo | |||
ぎ | ぎゃ | ぎゅ | ぎょ | ||
gya | gyu | gyo | |||
し | しゃ | しゅ | しょ | ||
sha | shu | sho | |||
じ | じゃ | じゅ | じょ | ||
ja | ju | jo | |||
ち | ちゃ | ちゅ | ちょ | ||
cha | chu | cho | |||
ぢ | ぢゃ | ぢゅ | ぢょ | ||
ja | ju | jo | |||
ひ | ひゃ | ひゅ | ひょ | ||
hya | hyu | hyo | |||
び | びゃ | びゅ | びょ | ||
bya | byu | byo | |||
ぴ | ぴゃ | ぴゅ | ぴょ | ||
pya | pyu | pyo |
พบ 57 ความเห็นในบทเรียนนี้
pageviews 8,318,225