คำช่วยภาษาญี่ปุ่น ความหมายและตัวอย่างประโยค


อ่าน 39,822 ครั้ง

คำช่วยเชื่อม : 接続助詞

でも

เกิดจาก 「て」 ซึ่งเป็นคำช่วยเชื่อม รวมกับ 「も」 ซึ่งเป็นคำช่วยเกี่ยวเนื่อง กลายเป็น 「ても」

แต่หากนำไปใช้ต่อท้ายคำกริยาที่ลงท้ายด้วยเสียง ~ぐ, ~ぬ, ~ぶ, ~む ซึ่งผันอยู่ในรูป rentaikei หรือต่อท้ายคำว่า 「ない」ก็จะผันเสียงเป็นจาก 「ても」 เป็น 「でも」

ใช้เชื่อมเรื่องที่ขัดแยังกัน บนเงื่อนไขสมมุติหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว

คำช่วยเกี่ยวเนื่อง : 係助詞

เกิดจาก 「で」 ซึ่งเป็นคำช่วยสถานะ หรือ 「だ」 ซึ่งเป็นคำกริยานุเคราะห์แสดงการยืนยัน ที่ผันอยู่ในรูป renyoukei เป็น 「で」 รวมกับ 「も」 ซึ่งเป็นคำช่วยเกี่ยวเนื่อง กลายเป็น 「でも」

ใช้เชื่อมคำหลัก (体言) หรือคำเสมือนคำหลัก หรือคำหลักที่ต่อท้ายด้วยคำช่วยที่ไม่ใช่ 「が」 และ 「を」 หรือคำวิเศษณ์ หรือ 「て」 ซึ่งเป็นคำช่วยเชื่อม เป็นต้น

1. ใช้ยกตัวอย่างเรื่องที่สุดขั้ว เพื่อให้คาดคะเนว่าเรื่องอื่นๆก็ย่อมต้องเป็นไปในทำนองเดียวกัน มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「でさえ」

2. ใช้ยกตัวอย่างเรื่องที่ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องพิเศษ เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ได้แตกต่างไปจากเรื่องอื่นๆทั่วไป มีความหมายเดียวกันกับคำว่า 「たとえ…であっても」

3. ใช้ร่วมกับคำปุจฉา เพื่อแสดงความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง

4. ใช้ยกตัวอย่างหนึ่งขึ้นมา เพื่อพูดอย่างคลุมเครือโดยไม่ต้องการกำหนดให้ชัด

5. ใช้แสดงความหวังที่เป็นไปได้ยาก มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า 「せめて」

6. ใช้ในรูปปฏิเสธ คือ「でもない」เพื่อแสดงการตัดสินใจที่คลุมเครือ

คำเชื่อม (คำสันธาน) : 接続詞

เป็นภาษาพูด เป็นคำย่อของคำว่า 「それでも」

1. เป็นคำเชื่อมประโยค เพื่อแสดงการยอมรับเรื่องราวที่กล่าวไว้ในตอนต้น แต่ปฏิเสธเรื่องราวที่ตามมา ว่าไม่ได้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น มีความหมายเดียวกันกับคำว่า 「それでも」 「けれども」 「しかし」 และ 「にもかかわらず」

2. เป็นคำเชื่อมประโยค เพื่อแก้ตัวหรือโต้แย้ง กับเรื่องราวที่กล่าวไว้ในตอนต้น มีความหมายเดียวกับคำว่า 「しかし」

คำต้น : 接頭語

ใช้นำหน้าคำศัพท์เกี่ยวกับอาชีพ ตำแหน่ง หรือยศฐาบรรดาศักดิ์

1. แสดงความหมายว่าไม่ได้มีความสามารถ สมตามชื่อหรือยศศักดิ์นั้นๆ เป็นคำที่ย่อมาจากสำนวนว่า 「あれでも…か」

2. แสดงความหมายว่าไม่มีความสามารถอย่างอื่น จึงจำเป็นต้องยึดอาชีพนั้น เป็นคำที่ย่อมาจากสำนวนว่า 「…にでもなるか」

pageviews 2,051,261