ฝึงการฟัง เรียนภาษาญี่ปุ่นกับ J-Campus

Christmas Eve
อ่าน 40,710 ครั้ง

เรียนไวยากรณ์จากเพลง

Christmas Eve เป็นเพลงที่ประพันธ์และขับร้องโดย Yamashita Tatsurou (1953-) นักร้องเพลงป๊อปที่โด่งดังมากที่สุดคนหนึ่งเมื่อเกือบ 30 ปีก่อน วางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี 1983 ในรูปแผ่นเสียง

และต่อมาจำหน่ายเป็นแผ่น CD ในปี 1988 ติดอันดับที่ 1 ของ oricon chart ประจำปี 1989 และได้นำไปใช้เป็น เพลงประกอบโฆษณาของรถไฟ JR Tokai ในช่วงฤดูหนาว 5 ปีติดต่อกัน (1988-1992)

หลังจากนั้น มีการจำหน่ายเป็นแผ่น single CD อีกครั้งหนึ่งในปี 2000 โดยติดอันดับ 6 ของ oricon chart และล่าสุดวางจำหน่ายอีกครั้ง เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2012 ที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่อันดับที่ 29 ของ oricon chart

เพลง Christmas Eve ทำสถิติอยู่ใน 100 อันดับแรกของ chart ติดต่อกันนานถึง 27 ปี คือ ตั้งแต่ปี 1987 จนถึงปัจจุบัน

ถือเป็นเพลงอมตะที่สุดเพลงหนึ่ง ที่คนญี่ปุ่นต้องนึกถึงในช่วงคริสต์มาสของทุกๆ ปี

1. การใช้ きっと กับ 必ず

きっと เป็นการแสดงความมุ่งมั่น ความมั่นใจ หรือความต้องการอย่างแรงกล้า ของผู้พูด

必ず คือสภาพที่ต้องเป็นเช่นนั้นอย่างแน่นอน หรือใช้แสดงการสันนิษฐานอย่างมั่นใจ หรือการมุ่งมั่นหรือการเรียกร้องอย่างแรงกล้า

ทั้ง 2 คำนี้ มีวิธีใช้งานที่เหมือนกัน และแตกต่างกัน คือ

  1. การแสดงสภาพที่มีความเป็นไปได้สูง จะใช้ きっと หรือ 必ず ก็ได้
    แต่ 必ず มักใช้ในกรณีที่มีความเป็นไปได้สูงกว่า เช่น
    • 一生懸命勉強すればきっと(หรือ 必ず)合格する
      isshoukenmei benkyou sureba kitto (หรือ kanarazu) goukaku suru
      ถ้าตั้งใจเรียนเต็มที่ จะต้องสอบผ่านแน่ๆ
  2. การแสดงความมุ่งมั่น หรือเรียกร้องอย่างแรงกล้า จะใช้ きっと หรือ 必ず ก็ได้
    • 明日にはきっと(หรือ 必ず)返す
      ashita ni wa kitto (หรือ kanarazu) kaesu
      จะคืนให้พรุ่งนี้แน่นอน
  3. กรณีที่เป็นความจริง ซึ่งไม่มีทางเป็นอื่น จะใช้ได้เฉพาะ 必ず เท่านั้น เช่น
    • 太陽は必ず東から昇る
      taiyou wa kanarazu higashi kara noboru
      ดวงอาทิตย์จะขึ้นจากทิศตะวันออกแน่นอน
  4. การใช้ในความหมายเชิงคาดเดา จะใช้ きっと โดยไม่ใช้ 必ず เช่น
    • 弟はきっと公園に居る
      otouto wa kitto kouen ni iru
      น้องชายคงอยู่ที่สวนสาธารณะแน่ๆ

ในเพลงนี้มีประโยคที่ใช้ きっと และ 必ず คือ

2. การใช้ きり

きり เป็นคำช่วยวิเศษณ์ ใช้ต่อท้ายคำนาม หรือคำอื่นๆ เพื่อแสดงขอบเขตว่ามีเพียงสิ่งนั้น หรือการกระทำเพียงเท่านั้น เช่น

หรือใช้ร่วมกับคำปฏิเสธ เพื่อแสดงว่าไม่มีการกระทำนอกเหนือไปจากนั้นอีกแล้ว

ขอให้ทุกคนมีความสุขในวันคริสต์มาสอีฟนะครับ

เว็บมาสเตอร์
23 ธันวาคม 2555

pageviews 499,013