สุภาษิตญี่ปุ่น เรียนภาษาญี่ปุ่นกับ J-Campus

江戸っ子の往き大名婦り乞食
えどっこのゆきだいみょうかえりこじき
edokko no yukidaimyou kaerikojiki

อ่าน 5,368 ครั้ง

ไปแบบขุนนาง กลับแบบขอทาน ของคนเอโดะ

เป็นสำนวนเปรียบเทียบนิสัยของคนเอโดะ ซึ่งมักจะมีนิสัยง่ายๆ ไม่คิดหน้าคิดหลัง เช่นตอนเริ่มออกเดินทาง ก็จะมือเติบราวขุนนาง จับจ่ายใช้สอยอย่างเพลิดเพลินไม่บันยะบันยัง แต่ในตอนขากลับ ก็แทบจะหมดเนื้อหมดตัวกลับมาในสภาพแทบจะเป็นขอทาน

【อธิบาย】

ในสมัยเอโดะ มีคำที่ใช้แบ่งเขตในเมืองหลวงอยู่ 2 คำ คือ

■ 山の手 (yama no te) หมายถึง ย่านบนเนินสูง ส่วนใหญ่จะเป็นย่านที่พักอาศัย และมีคฤหาสน์นักรบ และวัดอยู่มาก ได้แก่ ย่าน hongou, koishikawa, yotsuya, akasaka, aoyama, asabu ในปัจจุบัน

■ 下町 (shitamachi) หมายถึง ย่านบนที่ต่ำ ส่วนใหญ่จะเป็นที่อยู่ของผู้ประกอบอาชีพการผลิตและค้าขาย ได้แก่ ย่าน asakusa, kanda, nihonbashi, kyoubashi, honjou ในปัจจุบัน

江戸っ子 (edokko) หมายถึงคนที่มีรกรากที่เอโดะ โดยมักหมายถึงคนในย่าน shitamachi ซึ่งมีนิสัยชอบบู๊ คึกคัก เปิดเผย ไม่อ้อมค้อม มือเติบ แต่ในทางกลับกัน คือเป็นคนคิดตื้นๆ มุทะลุ ทะเลาะวิวาทกันง่ายๆ

pageviews 3,729,017